2559/09/21

Japan Design 6) บ้านญี่ปุ่น

[Japan Culture]
デザイン Japan Design (ตอนที่ 6)
บ้านญี่ปุ่น"(Japanese house)

ในสมัยก่อนชีวิตของคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ จำนวนมาก ต้องอยุ่ในความแออัด
นั่นเป็นเพราะ ประเทศญี่ปุ่น คือหนึ่งในประเทศที่มีพื้นที่ราบ ที่จะใช้อยู่อาศัยไม่มากนัก
และพื้นที่ ถึงเกือบสามส่วนก็ยังเป็นภูเขา พื้นราบส่วนหนึ่งก็ยังเป็นพื้นที่เกษตรกรรม
พื้นที่สาธารณะ และสนามกีฬา ฯลฯ ความแออัด ในอดีตเรายังพอเข้าใจได้ว่า
ภัยจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะพายุไต้ฝุ่น หรือแผ่นดินไหวก็ตาม ด้วยเทคโนโลยีในสมัยนั้น
คนญี่ปุ่นในอดีต ไม่สามารถที่จะเข้าไปบุกเบิกอยู่อาศัยในป่าบนภูเขาได้
ออกแบบวิถีญี่ปุ่นตอนที่ 6 "บ้านญี่ปุ่น"(Japanese house.)
" บ้านญี่ปุ่น"Japanese house [Digital Drawing by Pramot Patana]

ในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ทำได้แม้กระทั่ง การเพิ่มพื้นที่ด้วยการถมทะเลด้วยเศษขยะ
และด้วยความเจริญของ การคมนาคม ได้ทำให้หลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไปบ้าง
ความเจริญของ การคมนาคม การขนส่งด้วยรถไฟความเร็วสูง เทคโนโลยีการก่อสร้าง
แรงจูงใจในเรื่องภาษี นำไปสู่การกระจายตัวทางอุตสาหกรรม
และ เมืองเล็กๆในเขตจังหวัดต่างๆก็เติบโตอย่างรวดเร็ว ก็เป็นการช่วยแบ่งเบาความแออัดได้บ้าง


ส่วนในด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม สถาปนิก มัณฑนากร นักออกแบบของญี่ปุ่นนั้น
ก็มีความสามรถจัดอยู่ในระดับต้นๆของโลก 
หลายๆท่านยังได้ไปออกแบบตกแต่งออกแบบสถาปัตยกรรม ให้กับประเทศอื่นๆ
ปัจจุบันในประเทศญี่ปุ่นเราเห็นบ้านที่อยู่อาศัยทั้งในรูปแบบที่ทันสมัย
และแบบดั้งเดิม สถาปัตยกรรมที่สวยงาม บ้านสไตล์โมเดิร์นแปลกตา อพาร์ตเมนต์
คอนโดมิเนียมแบบตะวันตก ที่คนญี่ปุ่นเรียกว่า "แมนชั่น"
พื้นที่สาธารณะดีไซน์สวยๆ และสนามกีฬา ฯลฯ อยู่อย่างผสมกลมกลืน



ลักษณะบ้านของชาวญี่ปุ่นดั้งเดิม ในสมัยก่อน


-คุณลักษณะที่โดดเด่นของอาคารบ้านเรือนของชาวญี่ปุ่นญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม
จะมีวิธีการต่างๆที่ ทำให้บ้านกลมกลืนและเปิดต้อนรับธรรมชาติ
วัสดุหลักของบ้านแบบญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมที่ใช้จะเป็นไม้ ดิน และกระดาษ
การก่อสร้างจะกระจายออกด้านข้างมากกว่าที่จะมีการสร้างอาคารที่มีหลายๆชั้น
มี หน้าต่างหรือประตู เป็นกระดาษ (Shōji หรือ Fusuma)
หรือมีพาร์ทิชั่นที่สามารถยกออกได้ เพื่อเพิ่มขนาดของพื้นที่ห้อง


- Shōji ( 障子 ) หมายถึงประตูหน้าต่างหรือ ห้องพักที่ ปิดด้วยกระดาษโปร่งแสง
ทำให้แสงจากด้านนอก สามารถส่องผ่านเข้ามาในห้องได้ มีกรอบบานที่ทำจากไม้
และระแนงไม้ตาข่าย ที่ทำจากไม้หรือไม้ไผ่

- ดูรายละเอียดเพิ่มเติมของ Shōji : https://en.wikipedia.org/wiki/Sh%C5%8Dji

-Fusuma(襖) นั้นก็หมายถึงประตูบานเลื่อนที่ทำด้วยไม้ และกระดาษเช่นเดียวกันกับ Shouji
 แต่จะใช้กระดาษ ที่หนาและแสงสว่างไม่สามารถที่จะผ่านได้ เพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว
หรือทำหน้าที่เป็นประตู มีขนาดโดยประมาณ 90 เซนติเมตร (3.0 ฟุต) สูง 1.8 เมตร (5'11 ")
ในสมัยก่อน Fusuma มักจะมีการวาดภาพ ธรรมชาติ เช่น ภูเขา,ป่าไม้ หรือสัตว์ต่างๆ
Fusuma เป็นบานเลื่อนไปทางด้านข้างเพื่อเพิ่มพื้นที่ภายในห้องพัก
และเมื่อเลื่อนเปิดออก จะช่วยทำให้ขนาดของห้อง สามารถเปลี่ยนแปลงได้

- ดูรายละเอียดเพิ่มเติมของ Fusuma : https://en.wikipedia.org/wiki/Fusuma

หลังคา

-วัสดุต่างๆที่ใช้ในการก่อสร้างของหลังคา  "Kaya"
จะเป็น หญ้า ฟางข้าวสาลี, ไม้ไผ่, กระเบื้อง, หิน,
โดยที่รูปแบบหลังคานั้นจะขึ้นอยู่กับท้องถิ่น และ อาชีพของเจ้าของบ้าน
รูปแบบเหล่านี้ จะสามารถจำแนกคร่าวๆออกเป็น สามรูปแบบที่เรียกว่า Yosemuné , Kirizuma และ Irimoya
ความหลากหลายของรูปแบบหลังคา นับเป็นหนึ่งในคุณสมบัติของบ้านญี่ปุ่น


ออกแบบวิถีญี่ปุ่นตอนที่ 6 "บ้านญี่ปุ่น"(Japanese house.)2
coffee drawing name of roof japanese house [Digital Drawing by Pramot Patana]



-ห้องทั่วไป ในบ้านแบบดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น

"Genkan" ( 玄关)

เอกลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของบ้านญี่ปุ่น ที่ไม่มีใครเหมือนก็คือ
จากประตูทางเข้าบ้าน ที่เมื่อเปิดประตูบ้านเข้าไปจะมีห้องเล็กๆเป็นห้องแรก
เรียกว่า "Genkan"เป็นห้องสำหรับถอด และใส่รองเท้า
เมื่อแขกหรือคนที่มาเยือน เดินทางมาถึง ก็จะถอดรองเท้าของพวกเขาที่นี่
เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยง การนำพาสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ที่รองเท้า หรือเท้าเข้ามาในบ้าน
และเมื่อถอดรองเท้าแล้ว จะวางรองเท้าไว้ในตู้ที่เรียกว่า "getabako"(geta box)
โดยบน getabako นั้นมักจะมีรองเท้าแตะ สำหรับใช้งานภายในวางเอาไว้

"Genkan"จะมีระดับเท่าพื้นดินปกรติ โดยห้องทั่วไปในบ้านของชาวญี่ปุ่น
ที่ถัดจาก"Genkan"นั้นจะยกสูงจากพื้น ประมาณ 30~60cm
Genkan คือส่วนที่คนในบ้านจะออกมาต้อนรับแขกที่มาเยือน
ซึ่งหากว่าเป็นแขกที่ไม่สำคัญ หรือไม่สนิท เจ้าของบ้านก็จะต้อนรับ หรือพูดคุยที่ Genkan นี้
โดยจะไม่ได้เชิญให้ เข้าไปในตัวบ้าน
ถึงแม้ว่าปัจจุบัน บ้านของคนญี่ปุ่นจะได้รับอิทธิพลจากตะวันตกทำให้มีบ้านในสไตล์ตะวันตกมากมาย
บ้านของชาวญี่ปุ่นก็ยังคงมี Genkan อยู่เพราะว่า สำหรับบ้านญี่ปุ่นนั้น
Genkan คือส่วนที่ใช้แบ่งระหว่างภายนอกบ้าน ที่เป็นที่สำหรับ ต้อนรับคนนอกหรือแขกที่มาเยือน
และภายในบ้านนั้น ก็คือพื้นที่ของความเป็นส่วนตัว

ห้องทั่วไปในบ้านของชาวญี่ปุ่น ที่ถัดจาก"Genkan"
ที่จะทำการยกสูงจากพื้น ประมาณ 30~60cm นั้นก็เพราะว่า
สภาพภูมิอากาศของประเทศญี่ปุ่นนั้นมีความชื้นมาก
ซึ่งถ้ามีการระบายความชื้นที่ไม่เพียงพอ อาจจะทำให้พื้นเสื่อญี่ปุ่น (Tatami) ขึ้นรา
หรือโดนปลวกกินโดยง่าย
ดังนั้นจุดประสงค์ ของการยกพื้นก็เพื่อให้เกิดช่องว่างที่ใต้พื้น (En-noshita) ของบ้าน
โดยช่องว่างที่ใต้พื้น จะมีหน้าที่ระบายความชื้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมของ Genkan : https://en.wikipedia.org/wiki/Genkan

ลักษณะของห้อง

บ้านญี่ปุ่นในสมัยก่อน จะมีลักษณะของห้อง แบ่งเป็นห้องที่มีพื้นอยู่สามชนิด คือ

-ห้องที่มีพื้นดินเปล่า (Doma)
จะเป็นห้องที่มีพื้นดินที่ทุบให้แน่นแข็งเท่านั้น โดยปกติ ห้องที่มีพื้นดินเปล่า
จะเป็นส่วนของครัว เตาไฟที่ทำอาหาร (Kamado) และห้องอาบน้ำ
ในปัจจุบันห้องที่มีพื้นดินเปล่า (Doma) จะพบได้ก็แต่ตามต่างจังหวัด ของญี่ปุ่น

-ห้องที่มีพื้นเป็นไม้ (Itama)
ห้องพื้นไม้มักจะใช้เป็นห้องเก็บของทั่วไป หรือที่เตรียมอาหาร

-ห้องที่มีพื้นเป็นเสื่อ "ทาทามิ" ( Tatami ,畳 )
เป็นเสื่อที่ทำจากข้าว หรือฟาง (ในปัจจุบัน บางครั้งก็จะประกอบไปด้วยเศษไม้ที่บีบอัด หรือโฟม )
สำหรับห้องที่มีพื้นเป็นเสื่อ Tatami จะใช้เป็นห้องสำหรับพักผ่อน หรือห้องนอน
เสื่อ Tatami มีคุณสมบัติที่ปรับความชื้นในห้องให้สมดุล
ถ้าหากความชื้นในอากาศสูงมากเสื่อ Tatami ก็จะดูดความชื้น
และถ้ามีความชื้นในอากาศน้อย เสื่อ Tatami ก็จะระบายความชื้นได้


Washitsu (和室) ห้องพักแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น

-ห้องพักสไตล์ญี่ปุ่น เรียกว่า "Washitsu" ( 和室 )
ในภาษาญี่ปุ่นจะเป็นคำตรงข้ามกับ yōshitsu (洋室)
ที่หมายถึง "ห้องพักสไตล์ตะวันตก"

บ้านของชาวญี่ปุ่น มักจะมีอย่างน้อยหนึ่งห้อง ที่เป็น
ห้องพักสไตล์ญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมหรือ "Washitsu" ( 和室 )
โดยลักษณะเด่นของ washitsu (หรือ nihonma ) ก็คือจะมีพื้นปูด้วยเสื่อ Tatami และมีเพดานไม้
มักจะมีประตูเป็นบานเลื่อนทึบแสงที่กั้นระหว่างห้อง เรียกว่า “ฟุสุมะ (fusuma)”
เพื่อแบ่งสัดส่วนแยกออกจากห้องอื่น ๆ
washitsu จะปูด้วยเสื่อทาทามิ "tatami" และจะมี โชจิ "shoji"(ประตูบานเลื่อนแบบดั้งเดิม)
หรือ ประตูบานเลื่อนกระจก เพื่อออกไปสู่นอกชานหรือระเบียง อยู่ด้วย
ห้องพัก washitsu ของบ้านญี่ปุ่นดั้งเดิมทุกๆ Washitsu จะพบว่า
มีโครงสร้างแบบดั้งเดิม เช่นเดียวกันกับ วัด ,ศาลเจ้า
และเรียวกัง "ryokan"(โรงแรมขนาดเล็กแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น)

- ขนาดของห้อง washitsu นั้นจะวัดจากจำนวนของเสื่อทาทามิ  jō (畳)
ขนาดโดยปกติจะเป็นหก หรือแปดเสื่อทาทามิสำหรับบ้านส่วนตัว
และนอกจากนี้ยังมีเสื่อครึ่งขนาด เช่นห้องทาทามิ 4.5

ห้องพักสไตล์ญี่ปุ่น "Washitsu" นั้นถ้าหากถูกใช้เพื่อเป็นห้องรับแขกพิเศษ
หรือเป็นห้อง Washitsu ที่ออกแบบมาเพื่อความบันเทิงให้แขกผู้เข้าพัก
ก็จะมี tokonoma (床の間) (ยกพื้นสำหรับการตกแต่ง เช่น การจัดดอกไม้ที่เรียกว่า ikebana)

- ดูรายละเอียดเพิ่มเติมของ Washitsu : https://en.wikipedia.org/wiki/Washitsu
- ดูรายละเอียดเพิ่มเติมของ tokonoma : https://en.wikipedia.org/wiki/Tokonoma

washitsu ใช้เป็นห้อง สำหรับครอบครัว ,ทานอาหารเย็น ,พักผ่อน
โดยใช้เป็นห้องสำหรับครอบครัวในระหว่างวัน และ เป็นห้องนอนในเวลากลางคืน
ห้อง washitsu ในตอนกลางคืน เมื่อจะทำเป็นห้องนอน
ก็จะนำฟูกที่นอนสไตล์ญี่ปุ่น "futon" (布団 or 蒲団) และหมอน
ที่เก็บไว้ใน oshiire (押入れ - ตู้สำหรับการจัดเก็บฟูก ที่มีสองระดับ) ออกมาวางเพื่อสำหรับการนอน
และการนอนบนฟูกนอนที่วางอยู่บนเสื่อ ในปัจจุบันก็ยังเป็นที่นิยมอยู่มากในประเทศญี่ปุ่น
(ทุกเฟอร์นิเจอร์ที่จำเป็น ที่จัดเก็บได้ทั้งหมดมักจะถูกเก็บไว้ใน oshiire เพื่อเป็นการประหยัดพื้นที่
ถ้าจะนึกถึงภาพ oshiire ก็คือตู้ที่โดราเอม่อนเข้าไปนอน นั่นไงครับ(^^)


ร้านอาหาร และ ผับ(izakaya) ในประเทศญี่ปุ่น
ก็มักจะมีห้องพัก washitsu กับ พื้นเสื่อทาทามิสำหรับนั่งอยู่ด้วย
ในอดีตที่ผ่านมา คนญี่ปุ่นจะนั่งลงบนเสื่อ"ทาทามิ"โดยตรง
หรือนั่งบนเบาะ (zabutons  (座布団)

*zabutons - เบาะรูปสี่เหลี่ยมบางๆ ที่ใช้ในการนั่งบนพื้นแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น
โดยทั่วไปจะมีขนาด 50-70 ซม. (20-30 นิ้ว)


-ห้องน้ำ

ในบ้านของญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม ห้องน้ำของญี่ปุ่นจะแตกต่างจาก ห้องน้ำของตะวันตก คือ
ห้องส้วมแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม (和式, วะชิกิ) และ ห้องอาบน้ำ (Ofuro) จะถูกแยกออกจากกัน
ส้วมประเภทที่เก่าแก่ที่สุดเป็นส้วมแบบนั่งยอง ซึ่งปัจจุบันยังพบเห็นทั่วไปในห้องน้ำสาธารณะ
ส่วนส้วมชักโครกและโถฉี่แบบตะวันตก เริ่มแพร่หลายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ส้วมแบบญี่ปุ่นส่วนใหญ่ทำจากเครื่องเคลือบดินเผา และในบางแห่ง (เช่นบนรถไฟ) ทำด้วยสเตนเลส
ผู้ใช้ต้องนั่งยองบนส้วมโดยหันหน้าเข้าหาด้านที่มีฝาโค้งครึ่งทรงกลม
(หรือหันหน้าเข้าหากำแพงด้านหลังส้วมในภาพด้านขวามือ)
โดยผู้ใช้ต้องนั่งยองบนส้วม โดยหันหน้าเข้าหาด้านที่มีฝาโค้งครึ่งทรงกลม


ห้องครัว(キッチンหรือ台所)

ครัวญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม จะได้รับการออกแบบเพื่อให้ใช้พื้นที่น้อยที่สุด
ในปัจจุบัน ห้องครัวจะเป็นแบบสไตล์โมเดิร์น(modern) เป็นส่วนมาก
และเราจะไม่ค่อยเห็นห้องครัวแบบโบราณกันแล้ว
ครัวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ เราจะเห็นห้องครัวกับห้องกินข้าวนั้นอยู่รวมกัน

ถึงแม้ว่ายุคสมัย จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
และบ้านในรูปแบบตะวันตกก็เป็นที่นิยมเพิ่มขึ้น
และบางส่วนที่เป็นเอกลักษณ์ของบ้านญี่ปุ่นดั้งเดิมบางอย่าง ก็หายไปบ้าง

แต่ ไม่ว่าจะเป็นบ้านที่ทันสมัย หรือ เป็นบัานที่มีบริเวณไม่มากมาย
ชาวญี่ปุ่นก็มักจะยังคงมีห้อง "Genkan" และจะมี ห้อง "Washitsu" อย่างน้อยๆก็ หนึ่งห้อง
ซึ่งชาวญี่ปุ่นก็ยังยึดค่านิยมนี้ โดยยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง






Japan Design 1) พื้นฐานแนวคิด มาจากใหน การออกแบบสไตล์ญี่ปุ่น
Japan Design 2 ) "วาบิ-ซาบิ" แนวคิดในการออกแบบของญี่ปุ่น
Japan Design 3 ) อิทธิพลของธรรมชาติ และฤดูกาล กับการออกแบบของญี่ปุ่น
Japan Design 4) การออกแบบสวนของญี่ปุ่น
Japan Design 5) การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ของญี่ปุ่น





About the Author:
Pramote Patana :Creator of the work.
Pramote Patana :Blog Administrator.

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณ สำหรับ บทความ ผม ติดตามผลงาน ขอให้เขียนบ่อยๆๆนะครับ

    ตอบลบ