Japan Design (デザイン)
1) พื้นฐานแนวคิดมาจากใหน การออกแบบสไตล์ญี่ปุ่น
ในเรื่องของการออกแบบ ประเทศญี่ปุ่นนั้นนับว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีการออกแบบ อย่างมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
การออกแบบสิ่งต่างๆของคนญี่ปุ่นนั้น เป็นที่จับตามองของคนทั่วโลก
การออกแบบในหลายสิ่งหลายอย่างของญี่ปุ่น พอเราได้มองเห็นก็จะรู้สึกได้ทันทีว่า
นั่นคือสไตล์การออกแบบ แบบของญี่ปุ่นแน่ๆ
ในเรื่องของการออกแบบสิ่งต่างๆ ประเทศญี่ปุ่นนั้นนับได้ว่าเป็นประเทศหนึ่ง
ที่เป็นที่ยอมรับไปทั่วโลกในเรื่องของการออกแบบว่ามีเอกลักษณ์
มีคุณภาพ มีความสร้างสรรค์ และ ยังมีความสวยงาม
แนวความคิดในการออกแบบสิ่งต่างๆของชาวญี่ปุ่น นั้นมาจากที่ไหนกัน
สำหรับประเทศญี่ปุ่นเมื่อมองย้อนไปในประวัติศาสตร์ ซึ่งอารยธรรมญี่ปุ่น นั้นมีมานานกว่าหมื่นปี
นับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในยุคสมัยโจมง (10,000 – 300 ปีก่อนคริสตกาล)
ที่ญี่ปุ่นยังเป็น ชุมชนเร่รอน ประกอบอาชีพประมง ล่าสัตว์ และหาของป่า
จนพัฒนามาสู่ใน ยุคสมัยยาโยอิ (300 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 300)
จากชุมชนเร่รอนพัฒนามาเป็นหมู่บ้าน มีประกอบอาชีพทำเกษตรกรรม
เพาะปลูก และใช้เครื่องมือโลหะกันมากขึ้น
จนถึง สมัยโคฟุน (ค.ศ. 300 – 710) ที่มีการสถาปนาราชวงศ์ยามาโตะ
นารา (ค.ศ. 710 – 794) กำเนิดเมืองหลวงแห่งแรกเรียกว่าเฮเจเคียว (นารา)
ที่มีการนำกฎหมายตามแนวคิดแบบจีน (ระบบริตสึเรียว) มาใช้
สมัยเฮอัน (ค.ศ. 794 – 1185) ย้ายเมืองหลวงสู่เฮอันเคียว (เกียวโต)
สมัยคามาคูระ (ค.ศ. 1185 – 1333) ตระกูลมินาโมโตะเรืองอำนาจ กำเนิดระบบโชกุน (บากุฟุ)
ไล่เรื่อยมา จนถึงสมัยที่ญี่ปุ่น ใช้เวลากว่า 250 ปีในการปิดประเทศ
ซึ่งดูแล้วก็มีประวัติศาสตร์ทั้งที่เหมือน และที่แตกต่างจากชาติอื่นๆ
ถึงแม้ว่าอารยธรรมญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากจีน โดยมีบางส่วนจากเกาหลี
การดำเนินนโยบายด้านการปกครองที่ใช้เวลากว่า 250 ปีในการปิดประเทศ
และลักษณะภูมิประเทศที่เป็นหมู่เกาะ
ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะในการดำรงชีวิต ของอารยธรรมญี่ปุ่น
การแบ่งชนชั้นทางสังคม ความเชื่อทางศาสนา ปรัชญาแห่งเซน (zen)
ทำให้การออกแบบสร้างสรรค์ผลงาน ศิลปะ ผลิตภัณฑ์ ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน
ต้องตอบสนอง ประโยชน์ใช้สอย และตามความต้องการด้านจิตใจของแต่ละชนชั้น
ในยุคฟื้นฟูเมจิ และ ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ในการเปิดประเทศนั้น ญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของอารยธรรมตะวันตก
แต่ญี่ปุ่นก็สามารถ นำวัฒนธรรมของตะวันตก มาผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมของตนได้
หากมองประวัติศาสตร์แล้วจะเห็นได้ว่าประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีระเบียบแบบแผน
มีความเข้มแข็ง และมีระเบียบวินัยที่สูงมาก
ความมีระเบียบวินัย ที่คนญี่ปุ่นแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัด เช่นที่เราเห็นจากข่าวต่างๆ
ในตอนที่ประเทศญี่ปุ่น ต้องประสพกับภัย ทสึนามิครั้งใหญ่ที่เพิ่งผ่านมาไม่นาน
การทำงานอย่างทุ่มเทและจริงจัง ความรู้ในหน้าที่และมีความเป็นมืออาชีพของชาวญี่ปุ่น
ทำให้เกิดการแข่งขันกันเป็นอย่างสูง ในเรื่องของคุณภาพ ฯลฯ
ชาวญี่ปุ่น มีความมุ่งมั่นในการทำงานอย่างสูง เมื่อตั้งใจทำสิ่งใดแล้ว
ก็จะทุ่มเททำสิ่งนั้นๆ อย่างเต็มที่ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นของเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม
ดังนั้นสิ่งที่ ชาวญี่ปุ่นทำขึ้นมา จึงมักจะ มีคุณค่าและมีความหมาย
อย่างเช่น ของพื้นเมือง ของฝาก ผลิตภัณฑ์ในแต่ละพื้นที่ ที่มีทั้งคุณภาพ
และมีเอกลักษณ์เฉพาะในแต่ละพื้น และยังมีเสน่ห์ ที่แตกต่างไม่เหมือนกัน
ปัจจัยสำคัญ ที่มีผลต่อวิถีการออกแบบ ของญี่ปุ่น
นั้นสืบเนื่องมาจากความเชื่อทางศาสนา ความคิดของการเคารพต่อธรรมชาติ
การดำรงชีวิตตามลักษณะของฤดูกาลต่างๆ และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่าง
รู้คุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด การตระหนักถึง ความสมถะและ ความเรียบง่าย
ความงดงามอันเกิดจากกาลเวลาที่ผ่านไป อย่างเป็นธรรมชาติ
ความเงียบสงบ ความมีอิสระจากประเพณีนิยม
และ ความล้ำลึก (เช่น งานภาพวาดที่มีเส้นเพียงไม่กี่เส้น
หรือตัวหนังสือไม่กี่ตัว แต่สามารถปลุกความคิดได้)
นั่นคือ จิตสำนึกแห่งความงามของชาวญี่ปุ่น
การตระหนักถึงความสมถะ และ ความงดงามอันเกิดจากกาลเวลาที่ผ่านไปอย่างเป็นธรรมชาติ
ที่เรียกว่า วาบิ-ซาบิ (侘寂 / wabisabi )
และ อารมณ์ความรู้สึกของปัจเจกบุคคล ผ่านประสบการณ์ที่มีต่องานออกแบบ
ที่เรียกว่า โมโน-โนะ-อะวาเระ (物の哀れ / mono-no-aware)
ด้วยคุณภาพและความตั้งใจทำจริงของชาวญี่ปุ่น เราจึงต้องยอมรับกันว่า
สินค้าของญี่ปุ่น นั้นมีคุณภาพสูงมาก ในระดับโลก
ขาวญี่ปุ่น เป็นชนชาติที่เปิดกว้างในการรับสิ่งใหม่ๆเสมอ
ประเทศญี่ปุ่นนั้นมีวัฒนธรรมที่หลากหลาย ผสมผสานรวมอยู่ด้วยกัน
และประเทศญี่ปุ่น ก็นำเอาวัฒนธรรมที่หลากหลายนั้นมาผสมผสาน
เข้ากับวิถีชีวิต วัฒนธรรมการดำเนินชีวิตของตน ได้เป็นอย่างดี
พี้นฐานของ การออกแบบสิ่งต่างๆของญี่ปุ่น จึงมาจากลักษณะนิสัยของคนในชาติ
วิถีการดำรงชีวิต ,ศาสนา ,สภาพภูมิอากาศ ,ภูมิประเทศ ,วัฒนธรรม
และสิ่งที่ ชาวญี่ปุ่นไม่ทิ้งขว้าง ละเลย หรือหลงลืม
คือ ความภูมิใจในชาติพันธุ์ ความภูมิใจในเอกลักษณ์ของตน
ดังตัวอย่างเช่น เมื่อเวลามีเทศกาล หรืองานประเพณีสำคัญต่างๆ
วัยรุ่นญี่ปุ่น หนุ่มสาวสมัยใหม่ที่แต่งตัวแปลกๆ ก็จะพากัน สวมใส่กิโมโน
โดยมีความภาคภูมิใจ ในเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตน
โดยไม่คิดว่า เป็นของล้าสมัย และด้วยความภูมิใจในเอกลักษณ์ของตน
เราจึงมักจะพบเห็นว่า นักออกแบบของญี่ปุ่น
เมื่อออกแบบสิ่งต่างๆ ก็มักจะนิยมใส่เอกลักษณ์ของตวามเป็นญี่ปุ่น ลงไปด้วยอยู่เสมอ
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
Japan Design 2 ) "วาบิ-ซาบิ" แนวคิดในการออกแบบของญี่ปุ่น
Japan Design 3 ) อิทธิพลของธรรมชาติ และฤดูกาล กับการออกแบบของญี่ปุ่น
Japan Design 4) การออกแบบสวนของญี่ปุ่น
Japan Design 5) การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ของญี่ปุ่น
About the Author:
Pramote Patana :Creator of the work.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น