2557/12/14

Shiro Kuramata หนึ่งในนักออกแบบที่สำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 20 ของประเทศญี่ปุ่น

Shiro Kuramata : Designer

(29 พฤศจิกายน 1934 - 1 กุมภาพันธ์ 1991)

designers of the 20th century

นักออกแบบคนสำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 20 ของประเทศญี่ปุ่น


Shiro Kuramata เกิด 29 พฤศจิกายน 1934 ในกรุงโตเกียว
ในระหว่างช่วงเวลาของสงคราม Kuramata
เติบโตขึ้นมา ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่2
เป็นลูกชายของผู้ดูแลระบบ ที่เป็นรองผู้อำนวยการของสถาบันวิทยาศาสตร์

Shiro Kuramata ถูกยกให้เป็นหนึ่งในนักออกแบบที่สำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 20 ในประเทศญี่ปุ่น
Kuramata คือนักกวีของความคิดสร้างสรรค์
เป็นนักออกแบบที่เยี่ยมยอดที่สุด และมีอิทธิพลมากที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของญี่ปุ่น
.................................................

Kuramata ได้เข้าศึกษาชั้นมัธยม ในแผนกวิชาช่างไม้แบบญี่ปุ่นดั้งเดิม
และได้รับฝึกอบรม วิชาช่างไม้จนจบการศึกษาชั้นมัธยมที่
tokyo's polytechnic high school ในปี ค.ศ. 1953
หลังจบการศึกษา Kuramata ได้ไปทำงานกับ
บริษัท เฟอร์นิเจอร์ 'teikoku kizai company' ในปี ค.ศ. 1953
หลังจากนั้นไม่นาน จากความสนใจที่มีต่อการออกแบบตกแต่งภายใน ของเขา
เขาได้เข้าศึกษา ที่โรงเรียนสอนการออกแบบตกแต่งภายใน
'kuwasawa design school' ในโตเกียว
เป็นสถาบัน ที่สอนแนวคิดตะวันตก ของการออกแบบตกแต่งภายใน
รวมถึงการศึกษาในเรื่องของเก้าอี้
( ในประเทศญี่ปุ่น เวลานั้นชาวญี่ปุ่นยังนั่งอยู่บนพื้นเสื่อทาทามิ ในบ้านญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม )

Kuramata จบการศึกษาจาก 'kuwasawa design school' ปี ค.ศ. 1956
หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1957 Kuramata ก็ได้รับการว่าจ้างจาก 'San-Ai'
ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าขนาดเล็ก เขาได้เข้าทำงานเป็นนักออกแบบ
และที่ห้างสรรพสินค้าแห่งนี้ เขาก็ได้โชว์ผลงานอันโดดเด่น
ในการออกแบบตู้โชว์ (showcases) , ออกแบบพื้น (floor)
และ ออกแบบดิสเพลย์( window displays)

หลังจากยุติการเป็น นักออกแบบอิสระ ให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ค้าปลีก
'matsuya department store' ในปี ค.ศ. 1964
ในปีต่อมา (ค.ศ. 1965) Shiro Kuramata
ก็ได้ก่อตั้งสำนักงานออกแบบ Kuramata ของตัวเองขึ้น ในโตเกียว


ในระหว่าง ปี 1970 และ 80s  ความเป็นไปได้ของการปฏิวัติเทคโนโลยีใหม่ และ
อุตสาหกรรมวัสดุเทคโนโลยีใหม่ๆทำให้เขาสามารถที่จะ สร้างชิ้นงาน
ที่ดูเหมือนจะลอยได้ และ ดูเปราะบางได้
Shiro Kuramata ได้ใช้เวลาทดลองกับวัสดุอุตสาหกรรม ในชีวิตประจำวัน
ในช่วงเวลานี้เขาก็ได้ค้นพบ วัสดุที่เขาชื่นชอบ
ความพยายามในการทำงานของเขา ที่จะท้าทาย แรงโน้มถ่วง
โดยใช้วัสดุอุตสาหกรรม ในชีวิตประจำวัน
เขาใช้วัสดุ อะคริลิค กระจก อลูมิเนียม และ ตาข่ายเหล็ก ในการสร้างชิ้นงาน
ที่ได้ปรากฏเป็น ผลงานที่เป็นอิสระจากแรงโน้มถ่วง
ความรู้สึกโปร่งสบาย ของความโปร่งใส และ ความสว่าง

และด้วยมุมมองทางวัฒนธรรมของเขา
การออกแบบด้วยองค์ประกอบนามธรรม และเรียบง่าย
การออกแบบ ที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่น และความคิดสร้างสรรค์
การออกแบบ ที่ยังคงรักษาความเป็นเอกลักษณ์ที่แข็งแกร่ง
บนพื้นฐาน ของความงามแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น
Kuramata เป็นที่รับรู้ในกระบวนการของงานฝีมือที่พิถีพิถัน และ
ความเพียรใส่ใจในรายละเอียด
ที่มีรากมาจากประเพณีของญี่ปุ่น ที่มีอายุมาหลายศตวรรษ
ในขณะที่ การทำลายพื้นแบบใหม่ ที่ผ่านการใช้วัสดุที่เป็นนวัตกรรมใหม่
Shiro Kuramata ได้รวมแนวคิดแบบญี่ปุ่น
เขาแนะนำองค์ประกอบนามธรรม และเรียบง่ายผสมผสานศิลปะที่มีเสน่ห์ของเขา
กับ วัฒนธรรมตะวันตกร่วมสมัย (Bauhaus)

.................................................


- ปี ค.ศ.1972 Shiro Kuramata
ได้รับรางวัลออกแบบอุตสาหกรรม Mainichi Industrial Design Award
จากการออกแบบ โคมไฟคริลิคที่ชื่อว่า 'oba-Q'

.................................................

- ปี ค.ศ.1976 การออกแบบเก้าอี้ และ โต๊ะกระจก
Kuramata ต้องการที่จะก้าวข้าม ขอบเขตของวัสดุ
เขาได้พยายามในการทำให้วัตถุนั้นหายไป และสร้าง 'เส้นขอบเขตของวัตถุ'
การเปลี่ยนแปลงกระจก ให้กลายเป็นวัสดุที่ดูเบา จนแทบจะกลายเป็นอากาศ
การจัดการของแผ่นกระจก ที่ลดรอยตะเข็บใดๆ โดยใช้กาวที่มองไม่เห็น

.................................................

- ปี ค.ศ.1981 Shiro Kuramata เข้าร่วมกับ
กลุ่มนักออกแบบ เมมฟิส (the design group 'memphis')
ซึ่งตั้งอยู่ในมิลาน, ประเทศอิตาลี ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1981
โดย Ettore Sottsass นักออกแบบชาว อิตาลี ที่เกิดในออสเตรเลีย
Ettore Sottsass คือนักออกแบบหัวก้าวหน้าของศตวรรษที่ 20
Ettore Sottsass คือผู้ที่ Kuramata ให้ความนับถือว่าเป็น "เกจิ"

(Ettore Sottsass ตั้งกลุ่มนักออกแบบชื่อว่า Memphis
เขาจับกลุ่มนักออกแบบหนุ่มสาว ให้มารวมตัวกัน
Memphis เป็นกลุ่มที่สนใจการทำงานออกแบบ
ในแนวต่อต้านแบบแผนและขนบเดิมๆ
กลุ่ม Memphis ผลิตผลงาน เฟอร์นิเจอร์, เซรามิก, แก้ว และ สิ่งทอ
ออกมามากมายหลายชิ้น โดยส่วนมากเป็นเครื่องเรือน
และเครื่องเคลือบดินเผาชนิดต่างๆ
โดยผลงานของกลุ่ม Memphis นั้นล้วนใช้วัสดุราคาถูก
มีรูปร่างที่แปลกประหลาด และ มีสีสันที่ฉูดฉาด

- ในปีเดียวกันนี้ ( ค.ศ.1981)
Shiro Kuramata ได้รับรางวัล Cultural Japan Cultural Design Award

.................................................

- ปี ค.ศ.1985 Design of Homage to Hoffman "Begin the Beguine"
เก้าอี้สองตัว ที่เป็นการออกแบบของการแสดงความเคารพต่อ Josef Hoffmann Vol. 2
เป็นการออกแบบที่ได้แรงบันดาลใจจากภาพ สีดำและสีขาว ของ Hoffmann (1911)

.................................................

Sedia casablanca di ettore sottsass, 1981
"How High the Moon"

- ปี ค.ศ.1986  Design of steel mesh chair "How High the Moon"
Shiro Kuramata ประสพผลที่จะเป็นอิสระจากแรงโน้มถ่วง ตามที่เขาต้องการ
"How High the Moon" ซึ่งตั้งชื่อ ตามชื่อของเพลงแจ๊ส
หนึ่งในรูปแบบที่โดดเด่นที่สุดของเฟอร์นิเจอร์
โครงสร้างทั้งหมดเป็นตาข่ายเหล็ก เป็นการออกแบบให้มีเค้าร่างของเก้าอี้
โดยไม่ต้องมีโครงสร้างแบบดั้งเดิมแต่อย่างใด
"How High the Moon" นั้นมีลักษณะเกือบโปร่งใส
มันแสดงให้เห็นความตึงเครียด ระหว่างหน้าที่ของมัน และ รูปแบบของวัตถุ
ผลกระทบนี้ จะทวีความรุนแรงมากด้วยคุณภาพสะท้อนของตาข่ายเหล็ก
"How High the Moon"
ดูเปราะบางจนเราต้องสงสัย ถึงความสามารถในการรองรับน้ำหนักของร่างกายมนุษย์
ที่พักแขนและที่นั่ง ถูกออกแบบอย่างเรียบง่ายในรูปทรงแบบ ลูกบาศก์
และ การบัดกรีที่สร้างเก้าอี้ที่มีขนาดใหญ่ให้ดูเบา อย่างน่าประหลาด
"How High the Moon"
ได้สะท้อนให้เห็นถึงพลวัตรที่เกิดขึ้นใหม่ และความคิดสร้างสรรค์

.................................................


- ปี ค.ศ.1988 Design of acrylic/artificial roses chair "Miss Blanche"
งานชิ้นเอก และ อาจจะเป็นงานของเขาที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด
สำหรับการเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบ ของวิธีการทำงานของเขา
"Miss Blanche" สร้างขึ้นสำหรับ the Kagu tokyo designers week '88
โดยมีแรงบันดาลใจจาก เสื้อที่สวมใส่โดย vivien leigh ในภาพยนตร์
Tennessee Williams "Streetcar Named Desire (play)"

ดอกไม้ประดิษฐ์ทุกชนิด จากทั่วประเทศญี่ปุ่น
ถูกเก็บรวบรวม และ รูปแบบที่ถูกสร้างขึ้นมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า
เพื่อให้บรรลุถึงภาพลวงตา ว่า ดอกไม้กำลังลอยอยู่ในอากาศ
โดยวิธีการของกระบวนการทางเทคโนโลยี
ในการสร้างโลกของภาพลวงตา ที่สมบูรณ์แบบ
การตกแต่งไม่ได้เป็นเพียงแค่ผิวเผิน
แต่เป็นธรรมชาติของการเก็บรักษาไว้ ให้อยู่ในสภาพที่เหมือนฝัน
ดอกไม้ประดิษฐ์ทุกชนิดผ่านการทดสอบ
และในขั้นตอนสุดท้ายดอกกุหลาบ ก็ได้รับการเลือก
Shiro Kuramata ต้องการดอกกุหลาบแดงเทียม ที่ลอยอยู่ในอะคริลิคโปร่งใส
ดอกกุหลาบเรียงราย หมายถึง โลกความฝันของภาพลวงตาขณะที่ Blanche ยังมีชีวิตอยู่
เป็นตัวแทนของความหยิ่งยะโส และความอ่อนแอ ของ Blanche Dubois *

*(Blanche Dubois คือชื่อของนางเอกในละคร
ของTennessee Williams เรื่อง "Streetcar Named Desire")

.................................................

- ปี ค.ศ.1989 "cabinet de curiositè"
Shiro Kuramata ได้ค้นพบหลักการของ neiro "sound-colour"
เขาสร้างงานด้วย อะคริลิคโปร่งใส และสีสันซึ่งทำให้รูปแบบเกิดความเบี่ยงเบน

.................................................

- ปี ค.ศ. 1990 Shiro Kuramata
เขาได้รับรางวัล Ordre des Arts et des Lettres โดยรัฐบาลฝรั่งเศส

.................................................

Table-chair @ Context
'ko-ko' chair (1986)

ในช่วงชีวิตการสร้างสรรค์งานของเขา
Kuramata ผลิตชิ้นงานเฟอร์นิเจอร์ไว้ มากกว่า 180 รูปแบบ
Kuramata เป็นคนแรกที่นำพาวัสดุอุตสาหกรรม
เขาได้นำ เหล็ก ลวดตาข่าย กระจกใส มาใช้ในการออกแบบที่ยอดเยี่ยม
เป็นการออกแบบที่น่าเคารพยกย่องมากที่สุด ของศตวรรษที่ 20
การทำงานของ Kuramata
คือการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่าง ศิลปะ และการออกแบบ
การผสมผสานอิทธิพลของ ตะวันตก และ ตะวันออก
การทำงานของเขาเปรียบเสมือน การค้นหาจิตวิญญาณ เป็นศิลปะ
การทำงานของเขา สร้างบรรยากาศที่เงียบสงบ และ ครุ่นคิด อ่อนโยน งดงาม
การออกแบบที่ เปรียบเหมือนดั่งบทกวีที่ Shiro Kuramata ได้ประพันธ์ออกมา

Shiro Kuramata ได้เสียชีวิตลงก่อนวัยอันควร ในโตเกียว (1 กุมภาพันธ์ 1991)

..........................................................

นักออกแบบทุกคน ควรจะมีจินตนาการที่ไม่สิ้นสุด
จินตนาการที่วางอยู่บน ความพยายาม
จินตนาการที่ไม่ใช่ความเพ้อฝัน หรือ เพ้อเจ้อ
จินตนาการที่วางอยู่บนความพิถีพิถัน เข้าใจในองค์ประกอบทุกอย่าง ในสิ่งที่จะทำ
เมื่อทำตามจินตนาการได้เป็นผลสำเร็จ ก็จะมีความภูมิใจ ที่สมบูรณ์

หวังว่า ประเทศไทยของเรา จะมีนักออกแบบชั้นยอดเพิ่มขึ้น
เพิ่มขึ้นมากๆ จนประเทศไทยของเรา สวยงาม (^_^)






Source :
http://www.shirokuramata.com/
http://en.wikipedia.org/wiki/Shiro_Kuramata



About the Author:
Pramote Patana :Blog Administrator.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น